fbpx

ตะไคร้เป็นสมุนไพรไทยที่มีมาแต่โบราณ มีสรรพคุณใช้เป็นยารักษาโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงอากาศหนาวแบบนี้ หากใครเริ่มมีริมฝีปากแห้งแตก วันนี้เรามีวิธีทำน้ำตะไคร้ดื่มแก้อาการดังกล่าวมาฝากกัน

อันดับแรกไปทำความรู้จักกับลักษณะทั่วไปของพืชมากสรรพคุณชนิดนี้กันก่อน ตะไคร้มีชื่อเรียกตามภาคต่าง ๆ ในประเทศไทยแตกต่างกันไป อาทิ ตะไคร้แกง (ภาคกลาง) จะไคร้ (ภาคเหนือ) ไคร ไพเล็ก (ภาคใต้)คาหอม (ฉาน, เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) และหัวไคสิง (เขมร-ปราจีนบุรี) ลักษณะทั่วไปของ ต้นเป็นพรรณไม้ล้มลุก ขึ้นเป็นกอใหญ่ สูงประมาณ1 เมตร ลักษณะของลำต้นเป็นรูปทรงกระบอก แข็ง เกลี้ยง และตามปล้องมักมีไขปกคลุมอยู่

ใบเป็นใบเดี่ยวแตกใบออกเป็นกอ รูปขอบขนานปลายใบแหลมและผิวใบจะสากมือทั้งสองด้าน เส้นกลางใบแข็ง ขอบใบจะมีขนขึ้นอยู่เล็กน้อย มีสีเขียวกว้างประมาณ2 ซม. ยาวประมาณ 2-3 ฟุตดอกออกเป็นช่อกระจาย ช่อดอกย่อยมีก้านออกเป็นคู่ ๆ ในแต่ละคู่จะมีใบประดับรองรับ

สรรพคุณของตะไคร้เริ่มจากใบโดยใบสด ๆ จะช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้ ทั้งต้นใช้เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะและแก้อหิวาตกโรค หรือทำเป็นยาทาถูนวดก็ได้และยังใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่นรักษาโรคได้ เช่น บำรุงธาตุ เจริญอาหารและขับเหงื่อ หัวเป็นยารักษาเกลื้อนแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะพิการแก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้อาการขัดเบาลดความดันสูง แก้ลมอัมพาต แก้กษัยเส้นและแก้ลม ต้นใช้เป็นยาแก้ขับลมแก้เบื่ออาหาร แก้ผมแตก แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุให้เจริญ รากใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือปวดท้องและท้องเสีย

สำหรับวิธีทำน้ำตะไคร้แก้ปากแตก ปากแห้งให้ใช้ต้นตะไคร้สดแก่ๆ ประมาณ 1 กำมือ ทุบพอแหลกต้มกับน้ำประมาณ 1 ลิตร กรองเอาแต่น้ำ ดื่มแทนน้ำเปล่าได้ทั้งวัน เพราะมีสรรพคุณแก้อาการร้อนใน กระหายน้ำและช่วยแก้ริมฝีปากแห้งแตกได้อีกด้วย รู้แบบนี้แล้วใครที่เจออากาศเย็น ๆ แล้วริมฝีปากแห้งแตก ลองนำสูตรนี้ไปทำน้ำตะไคร้ดื่มดูนะคะ รับรองว่าส่งผลดีต่อสุขภาพมากมายทีเดียว

หลายคนอาจจะทราบกันดีว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งนั้นมีอยู่หลายอย่างด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็งที่เกิดจากพันธุกรรมหรือโรคมะเร็งที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ก็ล้วนแต่เป็นสิ่งที่หลายคนกลัวและพยายามหลีกเลี่ยง

แต่รู้หรือไม่ว่า ? โรคมะเร็งที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมนั้น แท้จริงแล้วมีเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น นั่นแสดงว่าสาเหตุที่คนในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นโรคมะเร็ง มาจากสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมการใช้ชีวิตทั้งสิ้น ซึ่ง 3 อันดับแรกของโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในเพศชาย-เพศหญิงนั้น ได้แก่

เพศชาย
อันดับ 1 มะเร็งปอด

แม้ตัวเลขของผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งปอดในประเทศไทยนั้น ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีกว่าประเทศอื่น ๆ แต่จำนวนของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ก็ยังถือว่าน่าเป็นห่วง เนื่องจากคนไทยจำนวนไม่น้อยมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่เป็นประจำ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งปอดได้ในทุกช่วงวัย อย่างไรก็ตาม หากลดพฤติกรรมการสูบบุหรี่ลงได้ อีกทั้งระมัดระวังอาหารประเภท ปิ้ง ย่าง ที่โดนความร้อนสูง ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งปอดได้ค่อนข้างมาก

อันดับ 2 มะเร็งตับ

สาเหตุที่พบบ่อยมากที่สุดมาจากโรคไวรัสตับอักเสบ ซึ่งคนส่วนใหญ่จะไม่รู้ว่าตัวเองเป็น เพราะโรคนี้จะไม่ค่อยแสดงอาการอะไร ทำให้คนที่เป็นไวรัสตับอักเสบนั้น มีโอกาสที่จะเป็นตับแข็งได้ตั้งแต่อายุยังน้อย จนกลายเป็นมะเร็งตับในที่สุด เพราะฉะนั้นใครที่รู้ตัวว่ามีประวัติครอบครัวเคยเป็นไวรัสตับอักเสบ ก็ควรไปตรวจตั้งแต่เนิ่น ๆ

อันดับ 3 มะเร็งท่อน้ำดี

ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากพญาธิใบไม้ ซึ่งพญาธิใบไม้จะพบได้ในเฉพาะคนที่มีพฤติกรรมชอบรับประทานของดิบ เช่น ปลาร้า ปลาดิบที่เป็นปลาน้ำจืด วิธีป้องกันนั้นง่ายกว่ามะเร็งชนิดอื่น คือแค่เปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ให้ปรุงสุกก่อนทุกครั้ง ก็สามารถห่างไกลจากมะเร็งท่อน้ำดีได้

เพศหญิง
อันดับ 1 มะเร็งเต้านม

ปัจจัยเสี่ยงหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านม มาจากการได้รับฮอร์โมนเพศหญิงในปริมาณมากเป็นเวลานาน เช่น การรับประทานยาคุมกำเนิด การฉีดฮอร์โมนเพื่อกระตุ้นให้ไข่ตกสำหรับผู้หญิงที่มีบุตรยาก นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงด้านพันธุกรรมอีกด้วย อย่างไรก็ตามมะเร็งเต้านมนั้นสามารถตรวจสอบด้วยตัวเองได้ง่าย ๆ โดยการใช้มือคลำ หรือไปตรวจที่โรงพยาบาลเมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป

อันดับ 2 มะเร็งปากมดลูก

เดิมทีมะเร็งปากมดลูก เคยเป็นมะเร็งที่ผู้หญิงไทยเป็นเยอะที่สุด แต่ปัจจุบันมีจำนวนของผู้หญิงไทยที่เป็นโรคนี้ลดลง เพราะมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องมะเร็งปากมดลูกมากขึ้น ทำให้หลายคนเปิดใจ มีความกล้าที่จะไปตรวจมะเร็งปากมดลูกที่โรงพยาบาล นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีวัคซีนที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก ที่สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9-12 ปี ซึ่งวัคซีนตัวนี้จะช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ในอนาคต

อันดับ 3 มะเร็งลำไส้

ผลการวิจัยพบว่า คนที่รับประทานผัก ผลไม้ มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้น้อยกว่าคนที่ชอบรับประทานอาหารฟาสต์ฟู้ด อย่างไรก็ตามคนที่อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ควรเริ่มตรวจอุจจาระเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อดูว่ามีเลือดปนมากับอุจจาระหรือไม่ นอกจากการตรวจหาเลือดในอุจจาระแล้ว การส่องกล้องลำไส้ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถตรวจหามะเร็งลำไส้ได้ดีอีกด้วย

การกินมากหรือกินไม่ถูกต้อง นำมาซึ่งโรคภัยต่างๆมากมาย เช่น โรคอ้วน เบาหวาน โรคไตวายเรื้อรัง โรคมะเร็ง เป็นต้น เราควรหันมาดูแลสุขภาพ รีบเปลี่ยนการกิน ก่อนจะป่วย ด้วยหลักคิด 9 ก่อนกิน

  1. กินอาหารครบ 5 หมู่
  2. เลี่ยงอาหารรสหวานจัด มันจัด และเค็มจัด หวาน 6 – มัน 6 เค็ม 1
  3. กินในปริมาณเท่าที่ร่างกายต้องการ ทำงานน้อย กินน้อย ทำงานหนัก กินมากหน่อย กินให้เหมาะกับวัยและกิจกรรมของตนเอง
  4. ออกกำลังกายให้เหมาะกับวัยและอาหารที่บริโภค ถ้ากินอาหารมากเกินความต้องการ ร่างกายก็จะเก็บสะสมไว้เป็นไขมัน เมื่อพลังงานที่ได้รับเกินทุกๆ 7,700 กิโลเเคลอรี่ น้ำหนักตัวก็จะเพิ่มขึ้นอีก 1 กิโลกรัม
  5. หมั่นดูแลน้ำหนักตัว รักษาดัชนีมวลกายให้ต่ำกว่า 23 & รอบพุงไม่เกิน 36 นิ้ว (ชาย) ไม่เกิน 32 นิ้ว (หญิง)
  6. ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย วันละ 1 -2 แก้ว เลือกดื่มนมจืด นมพร่องมันเนย นมไขมันต่ำ
  7. เลิกบุหรี่ ยาเสพติด
  8. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  9. ผ่อนคลายจิตใจ